You are here: Home
จดหมายข่าวฉบับย้อนหลัง
ปีที่ 37 ฉบับที่ 1
ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 เดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2559
ปรากฏการณ์ครอบครัวข้ามรุ่น




ครอบครัวข้ามรุ่น” หรือครอบครัวแหว่งกลาง หมายถึง ครอบครัวที่มีเฉพาะรุ่นปู่ย่า/ตายายกับรุ่นหลานอาศัยอยู่ร่วมกัน เท่านั้น (โดยไม่คำนึงว่าหลานจะอายุเท่าใด) และไม่มีคนรุ่นอื่นอาศัยอยู่ด้วย เกิดขึ้นเนื่องจาก คนวัยทำงานหรือคนรุ่นกลางย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองเพื่อหางานทำ ครั้นเมื่อมีลูก ก็นำมาฝากไว้กับปู่ย่า/ตายายเพื่อเลี้ยงดู แม้ว่าคนวัยทำงานจะไม่ได้ต้องการทิ้งเด็กๆ ไว้กับปู่ย่า/ตายายก็ตาม
จากข้อมูลการสำรวจสภาวะการทำงานของประชากร ปี 2530–2556 พบว่า จำนวนและร้อยละของครอบครัวข้ามรุ่นเพิ่มขึ้น โดยในปี 2530 มีร้อยละ 0.95 ต่อมาอีก 26 ปี มีครอบครัวข้ามรุ่นร้อยละ 2.07 แม้ดูเหมือนว่าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยแต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากกว่าตัวเลข
คนวัยทำงานหรือพ่อแม่ย้ายถิ่นคิดว่าการให้ลูกอยู่กับปู่ย่า/ตายายน่าจะเป็นผลดีและปลอดภัยกับลูกในระหว่างที่ตนเองไปทำงานในเมือง แต่ในขณะเดียวก็ส่งผลให้การใช้ชีวิตของคนรุ่นปู่ย่า/ตายายมีความยากลำบากมากยิ่งขึ้น ด้วยปัญหาทางสุขภาพ การแบกรับภาระเลี้ยงดูหลาน รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่หากไม่ได้รับเงินส่งกลับ หรือไม่ได้รับการติดต่อจากลูกของตนก็ยิ่งส่งผลให้มีความยากลำบากมากขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางด้านความผูกพันระหว่างพ่อแม่ผู้ย้ายถิ่นและลูกในถิ่นต้นทางที่อาจจะน้อยลงอีกด้วย
ครอบครัวข้ามรุ่นมิได้มีแต่ผลกระทบทางด้านลบเท่านั้น ผลในด้านบวกก็มีเช่น การที่ปู่ย่า/ตายายได้อยู่กับเด็กๆ ก็จะรู้สึกไม่เหงา ดีกว่าไม่มีเด็กๆ และเด็กได้กลายเป็นตัวเชื่อมทำให้พ่อแม่ผู้ย้ายถิ่นติดต่อกลับมายังรุ่นปู่ย่า/ตายายเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ตารางแสดงจำนวนและร้อยละของครอบครัวข้ามรุ่น
ปี | จำนวน | ร้อยละ |
---|---|---|
2530 | 107494 | 0.95 |
2540 | 168396 | 0.10 |
2550 | 359092 | 1.97 |
2556 | 405615 | 2.07 |
ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ, การสำรวจภาวะการทำงานของประชากรไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2530–2556
Since 25 December 2012